การจดทะเบียนสมรสกับคนไทย หรือ การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ในเมืองไทยนับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญของหลากหลายความสัมพันธ์ของคู่รักในเมืองไทย แต่การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยมีความซับซ้อนสูง ตั้งแต่กระบวนการราชการที่ไม่คุ้นเคย ไปถึงการจัดการเอกสารเฉพาะบุคคล และความซับซ้อนของระบบราชการของฝ่ายคู่รักคุณ
| เอกสารสำคัญในการจดทะเบียนสมรส
เมื่อวางแผนที่จะจัดงานแต่งงานในประเทศไทย การตรวจสอบให้แน่ใจว่าเอกสารของคุณครบถ้วน และ ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ
กฎหมายการแต่งงานของประเทศไทยมีข้อกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายต้องนำเสนอเอกสารเฉพาะ ซึ่งจะมีการแตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับชาวต่างชาติและคนไทย
| รายการเอกสารเบื้องต้น
สำหรับคนไทย:
บัตรประจำตัวประชาชน
เอกสารทะเบียนบ้าน (ทะเบียนบ้าน)
สูติบัตรและเอกสารทะเบียนบ้านของบุตร (หากมี)
เอกสารสถานะทางทะเบียนและบันทึกสำคัญ
ใบเปลี่ยนชื่อ (หากมี)
มรณบัตรหรือใบหย่า ของคู่สมรสเก่า (หากมี)
พยาน 1 ท่าน
สำหรับชาวต่างชาติ:
หนังสือเดินทาง
ใบรับรองการไม่มีอุปสรรคในการแต่งงานที่ออกโดยสถานทูตของตน (ต้องได้รับการรับรอง จากกระทรวงการต่างประเทศของไทย)
เอกสารสถานะทางทะเบียนและบันทึกสำคัญ
ใบเปลี่ยนชื่อ (หากมี)
มรณบัตรหรือใบหย่า ของคู่สมรสเก่า (หากมี)
หลักฐานการพำนัก (ไม่บังคับ)
พยาน 1 ท่าน
| เอกสารสำคัญที่ต้องแปล
เอกสารจากชาวต่างชาติจะต้องถูกแปลเป็นภาษาไทย และ ถูกรับรองโดยองค์กรทางกฏหมายหรือ บริษัทกฏหมาย เพื่อยืนยันความถูกต้องและสามารถรับรองทางกฎหมาย
| ด้านล่างนี้คือรายการเอกสารที่ต้องแปล:
หนังสือเดินทาง
ใบรับรองการไม่มีอุปสรรคในการแต่งงานที่ออกโดยสถานทูตของตน (ต้องได้รับการรับรอง จากกระทรวงการต่างประเทศของไทย)
เอกสารสถานะทางทะเบียนและบันทึกสำคัญ
ใบเปลี่ยนชื่อ (หากมี)
มรณบัตรหรือใบหย่า ของคู่สมรสเก่า (หากมี)
สัญญาก่อนแต่งงาน (หากมี)
หลักฐานการพำนัก (ไม่บังคับ)
เอกสารสนับสนุนอื่นๆ ที่ในภาษาต่างชาติ
| เอกสารสถานะทางทะเบียนและบันทึกสำคัญคืออะไร
เอกสารสถานะทางทะเบียนคือ การบันทึกทางการ รับรองเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของบุคคล ซึ่งเรียกว่า "บันทึกสำคัญ" เอกสารเหล่านี้มักจะถูกเก็บรักษาโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร, สำนักทะเบียนสถานะทางทะเบียน หรือสำนักงานสถิติประชากร และถูกใช้เป็นหลักฐานการยืนยันตัวตน และสถานะทางกฎหมายของบุคคลในเขตอำนาจศาลนั้น ๆ
| ประเภทหลักของเอกสารสถานะทางทะเบียนประกอบด้วย:
สูติบัตร
ใบรับรองการแต่งงาน
สูติบัตร
ใบเปลี่ยนชื่อ
ใบหย่า
| ทำไมถึงต้องแปลภาษาเอกสารราชการ
เจ้าหน้าที่ในเมืองไทยดำเนินการโดยหลักในภาษาไทย ดังนั้น เอกสารทางกฎหมายที่ส่งไปยังสำนักงานเขต หรือ สถาบันทางกฏหมายจะต้องเป็นภาษาไทยเพื่อความชัดเจนและการความถูกต้องตามกฎหมายท้องถิ่น
หากไม่มีเอกสารที่แปลและรับรองอย่างถูกต้อง การยื่นคำขอทางกฏหมายของคุณอาจถูกเลื่อนหรือปฏิเสธได้
| เราสามารถช่วยคุณได้อย่างไร
ที่ Leatherbook เรามีบริการแปลเอกสารรับรอง (Certified Translation Service) รวมถึง แพ็คเกจ Marriage Essential ที่ครอบคลุมการทำงานด้านการลงทะเบียนทั้งหมด
Package Marriage Essential
ค่าบริการ ณ เดือนสิงหาคม 2024 – 12,950 บาทไทย
บริการประกอบด้วย:
รายการเอกสารเฉพาะบุคคลที่จำเป็น
การนัดหมายวันเพื่อขอ ใบรับรองการไม่มีอุปสรรคในการแต่งงานที่สถานทูต
การกรอกเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด ให้คุณ
การประสานงานและนัดหมาย สำหรับขั้นตอนทางกฎหมายทั้งหมด
บริการล่ามและพยาน ในวันลงทะเบียนแต่งงานที่สำนักงานเขต
บริการแปลภาษาฟรีสำหรับเอกสาร 2 ฉบับ รวมถึงการรับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศของไทย (Notorization)
บริการพิเศษจาก Leatherbook
บริการพิเศษจาก Leatherbook
Leatherbook Progress TrackerLB SMS และอีเมล ติดตามความคืบหน้าเอกสารคุณ
Leatherbook DataguardLB Program เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวคุณให้ปลอดภัยจากอาชญากรณ์
มีเจ้าหน้าที่ Leatherbook Concierge ณ วันจดทะเบียนสมรส
สิ่งที่ไม่รวมอยู่ในแพ็คเกจ
ค่าธรรมเนียมจากสถานทูต
ค่าใช้จ่ายสำหรับพิธีหมั้นหรือสถานที่จัดงานแต่งงาน
บริการเสริมพิเศษ
สำหรับความต้องการเพิ่มเติม เรามีบริการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้:
การร่างสัญญาก่อนแต่งงาน: +1,700 บาท
การรับรองสูติบัตร, ใบหย่า หรือใบเปลี่ยนชื่อ: +1,350 บาทต่อเอกสาร
| ในท้ายที่สุดแล้ว
การแต่งงานของคุณคือการเฉลิมฉลองความรักและความสุขของคุณ ไม่ใช่การความเครียดในการจัดการเอกสารราชการ
อย่าให้ความซับซ้อนของกระบวนการทางกฏหมายทำให้คุณรู้สึกหนักใจ และ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของมืออาชีพ มาจัดการแทรคุณตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วย Marriage Essential Package หรือ บริการแปลภาษามืออาชีพ จากเรา
ติดต่อ Leatherbook วันนี้ เพื่อเริ่มต้นเส้นทางสู่ชีวิตคู่ของคุณอย่างราบรื่นในเมืองไทย
โดย
Leatherbook Editor
Comments